Tag: E2

อยากได้พ่อครัวมาจากไทยทำอย่างไร

ได้รับคำถามจากเจ้าของร้านอาหารหลายๆท่านที่ต้องการนำพ่อครัวแม่ครัวเข้ามาจากประเทศไทย เนื่องจากหาคนงานในอเมริกาที่จะทำงานและอยู่กับร้านเรานานๆ ยากเหลือเกิน จึงต้องการจะนำคนรู้จักที่มีประสบการณ์ทำงานในครัวมาจากประเทศไทย วิธีที่เร็ว ง่ายและประหยัดที่สุดคือ ถ้าหากร้านอาหารของคุณมีหุ้นส่วนที่ถือวีซ่านักลงทุน E2  หุ้นส่วนท่านนี้สามารถยื่นเรื่องสปอนเซอร์คนงานมาจากไทยหรือคนงานที่อยู่ในอเมริกาแต่ถือวีซ่าอื่นอยู่ เช่น นักเรียน นักท่องเที่ยว หรือถือวีซ่าทำงานแต่อยู่ภายใต้ร้านอื่นก็ได้ สำหรับคนงานที่อยู่เกินกำหนด(โดด) แล้วร้านไม่สามารถยื่นเรื่องสปอนเซอร์ให้ทำงานได้ อิมมิเกรชั่นไม่ได้จำกัดจำนวนคนงานที่ร้านจะสปอนเซอร์ไว้และคนงานจะได้วีซ่าครั้งละสองปี ต่ออายุได้เรื่อยๆและคนงานต้องทำงานในกับร้านที่ยื่นเรื่องสปอนเซอร์ให้เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อดีในแง่การบริหารร้าน ร้านอาหารและร้านนวดสปาที่ต้องอาศัยคนงานจึงนิยมยื่นวีซ่าประเภทนี้กันค่ะ สำหรับร้านที่เจ้าของร้านเป็นอเมริกันซิติเซ่นหรือกรีนการ์ด สามารถเริ่มต้นด้วยการหาหุ้นส่วนคนไทยเข้ามาร่วมหุ้น (ซื้อหุ้นอย่างน้อย 50%) โดยเงินลงทุนที่หุ้นส่วนดังกล่าวต้องมีก็ขึ้นกับมูลค่าของร้านเราค่ะ เช่นถ้าหากร้านมีมูลค่า $100,000 เงินที่ผู้ลงทุนต้องมีคือ $40,000 โดยต้องเป็นเงินลงทุนที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้มาอย่างถูกต้อง จะได้มาจากการเก็บสะสม ขายทรัพย์สิน พ่อแม่ญาติให้ หรือกู้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีเอกสารประกอบชัดเจนค่ะ

Read More

Source of funds e2 แหล่งที่มาของเงินลงทุน

อาทิตย์นี้จะอธิบายเรื่องแหล่งที่มาของเงินลงทุน Source of Funds ในการขอวีซ่านักลงทุน E2 นะคะ เพราะได้รับคำถามเรื่องนี้ค่อนข้างมากจากผู้อ่านหลายๆท่าน การยื่นขอวีซ่านักลงทุนจากประเทศไทยหรือยื่นขอเปลี่ยนสถานะนักลงทุนในอเมริกาจะผ่านหรือไม่นั้น จุดสำคัญเลยอยู่ที่แหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ลงทุน โดยที่เงินที่นำมาลงทุนต้องสามารถพิสูจน์กับอิมมิเกรชั่นได้ว่าเราได้รับมาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ยกตัวอย่างแหล่งที่มาของเงิน เช่น พ่อแม่ หรือญาติ อาจจะให้เรานำมาลงทุน หากเลือกข้อนี้ ต้องมีเอกสารประกอบว่าพ่อแม่หรือญาติทำงานหรือทำธุรกิจอะไร กู้ ต้องมีเอกสารการกู้ เงินสะสม ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองการทำงาน หรือใบทะเบียนการค้าว่าทำธุรกิจมาแล้วกี่ปี ขายที่ดิน ต้องมีเอกสารการขายที่ดิน ขายทรัพย์สิน เช่นทอง เพชร รถ ต้องมีเอกสารการขายทรัพย์สินประกอบ โดยที่ไม่ว่าเราจะใช้แหล่งทีมาของเงินข้อไหน จำเป็นที่จะต้องมีเอกสารพิสูจน์เพื่อให้อิมมิเกรชั่นเห็นว่าเงินที่เรานำมาลงทุนนั้นมาจากแหล่งที่ขาวสะอาด สำนักงานเราแนะนำให้ท่านที่สนใจจะยื่นขอวีซ่านักลงทุนจากประเทศไทยหรือยื่นขอเปลี่ยนสถานะเป็นนักลงทุนในอเมริกา อีเมล์เอกสารเรื่องแหล่งที่มาของเงินมาให้เราประเมินให้ว่าเคสของท่านมีโอกาสในการยื่นเรื่องได้หรือไม่ และหากเอกสารไม่พร้อม เราจะแนะนำให้ว่าท่านควรเตรียมตัวอย่างไรให้เรื่องมีโอกาสยื่นและผ่านมากที่สุดค่ะ

Read More

คำถาม ยื่นขอเปลี่ยนสถานะเป็นนักลงทุน E2 ในอเมริกา หากเรื่องผ่านแล้วจะเดินทางกลับเมืองไทย

คำตอบ ได้ค่ะ หากลูกค้าอยู่ที่อเมริกาและยื่นเรื่องขอเปลี่ยนสถานะเป็นนักลงทุนผ่านแล้ว ซึ่งโดยปกติอิมมิเกรชั่นจะให้สถานะครั้งละสองปี ระหว่างสองปีนี้ หากต้องการเดินทางกลับเมืองไทย สามารถเดินทางกลับได้ แต่ก่อนจะกลับเข้ามาอเมริกาต้องไปทำเรื่องขอวีซ่านักลงทุนที่สถานฑูตอเมริกาในกทม เนื่องจากว่าหน้าวีซ่าในพาสปอร์ตคุณยังคงเป็นวีซ่าเดิม (อาจจะเป็นท่องเที่ยวหรือนักเรียน) และสิ่งที่อิมมิเกรชั่นให้คุณตอนทำเรื่องขอเปลี่ยนสถานะในอเมริกา คือ สถานะนักลงทุน ( E2 STATUS) ไม่ใช่วีซ่า (E2 VISA) นักลงทุนนะคะ คุณจึงต้องไปยื่นขอวีซ่านักลงทุนที่สถานฑูตอเมริกาก่อนจะเดินทางกลับเข้ามาบริหารธุรกิจต่อ สำหรับท่านที่ไม่ต้องการเดินทางกลับไทยและจะอยู่ในอเมริกาตลอดระยะเวลาสองปีที่อิมมเกรชั่นผ่านเรื่องให้ก็ได้ค่ะ และพอใกล้ครบกำหนดสองปีก็ทำเรื่องต่อสถานะ (E2 STATUS) นักลงทุนที่อเมริกาได้เลยค่ะ

Read More

คำถาม คุณสมบัติของผู้ที่จะยื่นขอวีซ่า E2 employee มีอะไรบ้าง

คำตอบ ตำแหน่งในการยื่นวีซ่า E2 employee แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ ตำแหน่งทางด้าน Management/ Supervisory Positions สำหรับผู้ที่มีประวัติการศึกษาหรือประสบการณ์ด้านการบริหาร  ตำแหน่งในครัว Chef/ Sous chef สำหรับผู้ที่มีประวัติการศึกษาหรือประสบการณ์ด้านการทำอาหาร สำหรับท่านที่ไม่ได้มีประสบการณ์ทำงานด้านที่จะยื่นโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น ต้องการยื่นขอทำงานในตำแหน่งผู้จัดการร้านอาหาร (E2 employee restaurant manager) แต่มีประสบการณ์ทำงานด้านการบริหารบริษัทรถยนต์ก็สามารถยื่นได้ สำนักงานเราเคยยื่นเคสแบบนี้ผ่านมาแล้ว ขั้นตอนหลักคือเราจะส่งเอกสาร คือ degree, transcript and work reference letters ไปทำ evaluation เพื่อให้อิมมิเกรชั่นเห็นว่าคุณมีคุณสมบัติและประสบการณ์ตรงตามกับ Job Description ของตำแหน่งที่จะยื่นค่ะ หากต้องการให้สำนักงานเราประเมินให้ว่าคุณสามารถยื่นขอวีซ่าทำงาน E2 employee ได้หรือไม่ ให้ email resume มาที่ info@globalvisanow.com

Read More

ขั้นตอนการเริ่มธุรกิจในอเมริกาและขอวีซ่านักลงทุน

คำถาม อยากเริ่มทำธุรกิจและขอวีซ่านักลงทุน E2 ควรเริ่มต้นอย่างไร คำตอบ หลายๆท่านต้องการที่จะเริ่มทำธุรกิจในอเมริกา แต่ไม่ทราบว่าต้องเริ่มต้นตรงไหน วันนี้เราสรุปขั้นตอนแบบสั้นๆ เข้าใจง่าย มาให้ดังนี้คือ Research ค้นหาข้อมูลและสำรวจตลาดดูว่าเราต้องการทำธุรกิจอะไร Take over ลองพูดคุยกับคนขายธุรกิจ หากเราสนใจเข้าไปเซ้งธุรกิจต่อว่าราคาเซ้งเท่าไหร่ รวมอุปกรณ์ เครื่องใช้อะไรบ้าง และประเมินดูว่าเราต้องการซื้อหรือไม่ หากตกลงราคากันได้แล้ว ต้องให้คนขายไปชี้แจงกับ Landlord ว่าจะมีคนเช่าใหม่ และขอดูร่างสัญญาเช่า Start Up หากเป็นกรณีที่เราจะเริ่มทำธุรกิจเอง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ หา location และยื่นใบสมัครกับ landlord สำหรับคนที่พึ่งเดินทางเข้ามาอเมริกาไม่นานและไม่มีเลข SSN และประสบปัญหาไม่มี credit score อาจจะต้องหา Business Partner ที่มีกรีนการ์ดหรือซิติเซ่นเพื่อให้เข้ามาหุ้นด้วยโดยอาจจะเป็นหุ้นเล็กแค่ 5% เพราะจะทำให้การเซ็นสัญญาเช่าง่ายขึ้น Start E2 process หลังจากที่ได้พูดคุยกับผู้ขาย (กรณีเซ้ง) และ Landlord แล้ว แต่เน้นว่ายังไม่ได้เซ็นสัญญาจริง ให้นำร่างสัญญาซื้อขายและร่างสัญญาเช่ามาให้ทนายทางด้านอิมมิเกรชั่น review ว่าทุกอย่างตรงตามกฎและเงื่อนไขของการขอ […]

Read More

ธุรกิจต้องดำเนินการไปถึงขั้นไหนถึงจะขอวีซ่านักลงทุนได้

วีซ่านักลงทุนเหมาะกับนักธุรกิจที่ต้องการเริ่มธุรกิจในอเมริกาโดยอาจจะเป็นการเข้าไปซื้อธุรกิจต่อจากเจ้าของเดิมหรือเริ่มต้นธุรกิจใหม่ก็ได้ จุดประสงค์ของวีซ่านี้คือให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในอเมริกาและสร้างงานให้กับเศรษฐกิจอเมริกา คำถามหนึงที่สำนักงานเราพบบ่อยๆคือ ธุรกิจต้องดำเนินการไปถึงขั้นตอนไหนถึงจะขอวีซ่าได้ มีหลายๆท่านถามเข้ามาว่าเสนอแผนทางธุรกิจอย่างเดียวว่าเรามีความตั้งใจจะทำธุรกิจนี้ได้หรือไม่ หรือต้องมีการลงมือทำไปแล้วถึงขั้นตอนไหน คำตอบ คือ ต้องมีการเริ่มดำเนินการไปแล้วจนใกล้ที่จะเปิดธุรกิจได้ (close to the start of operation) เช่น มีการเช่าพื้นที่แล้ว มีการซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นในการประกอบการ มีการจ้างพนักงานแล้วหรืออยู่ในระหว่างคัดเลือกคนงาน และเหลือเพียงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่ต้องทำหลังจากที่วีซ่านักลงทุนผ่าน ยกตัวอย่าง สิ่งที่ใช้ชี้วัดว่าธุรกิจได้เริ่มดำเนินการไปแล้วและพร้อมที่จะยื่นขอวีซ่านักลงทุน มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจแล้ว มีสัญญาเช่าทางธุรกิจ มีเวบไซต์ นามบัตร เมนู โบรชัวร์ มีใบอนุญาติประกอบธุรกิจ เลขที่เสียภาษี ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นพิจารณาจากสถานการณ์และเอกสารโดยรวมเพื่อตัดสินว่าธุรกิจพร้อมเปิดดำเนินการหรือเตรียมเปิดธุรกิจไปถึงขั้นไหนแล้ว หากท่านมีข้อสงสัย สามารถโทรเข้ามาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (631) 464-8471 or email info@globalvisanow.com

Read More

นักลงทุน E2 ทำอย่างไรให้ได้กรีนการ์ด

วีซ่าหรือสถานะนักลงทุน E2 ไม่ได้เป็นบันไดไปสู่กรีนการ์ดโดยตรง แต่ผู้ที่ถือวีซ่านี้หรือสถานะนี้มีหลายๆทางเลือกในการยื่นขอกรีนการ์ด เช่น ทางเลือกแรกคือ ยื่นขอวีซ่านักลงทุนประเภท EB5 ซึ่งผู้ยื่นต้องมีเงินลงทุนอย่างน้อย $500,000 โดยนำเงินไปลงทุนใน Regional Center (Government Approved Project) หรือลงทุน $1,000,000 ในธุรกิจของตนเอง ทางเลือกที่สองคือยื่นขอ H1B ประเภท self-employed entrepreneur และยื่นขอกรีนการ์ดโดยใช้ธุรกิจที่ตนเองเป็นเจ้าของอยู่ได้ ทางเลือกที่สามคือ ในกรณีที่สามีหรือภรรยาของผู้ถือวีซ่าหรือสถานะนักลงทุนทำงานและบริษัทที่ทำงานยื่นเรื่องขอกรีนการ์ดให้กับคู่สมรสของนักลงทุน นักลงทุนก็จะได้กรีนการ์ดด้วยเช่นกัน (Derivative) ทางเลือกที่สี่ คือยื่นขอกรีนการ์ดประเภท NIW (National Interest Waiver) โดยที่ไม่ต้องมีนายจ้าง ในกรณีที่ผู้ยื่นมีธุรกิจที่สำคัญต่อเศรษฐกิจอเมริกาเป็นอย่างมาก

Read More

ยื่นขอวีซ่านักลงทุนจากไทยหรือขอเปลี่ยนสถานะเป็นนักลงทุนในอเมริกา แบบไหนง่ายกว่ากัน

คำถามจากผู้อ่าน ถ้าต้องการทำธุรกิจในอเมริกา ควรที่จะยื่นขอวีซ่านักลงทุนที่สถานฑูตอเมริกาที่ประเทศไทย (E2 VISA) หรือ เดินทางเข้ามาอเมริกาด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวหรือวีซ่าอื่น แล้วมายื่นขอเปลี่ยนสถานะในอเมริกา (CHANGE OF STATUS) ขั้นตอนแตกต่างกันอย่างไร และทำแบบไหนง่ายกว่า คำตอบ เอกสาร ค่าดำเนินการและระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก ส่วนที่แตกต่างกันหลักๆคือ การยื่นขอเปลี่ยนสถานะในอเมริกา ผู้ยื่นไม่ต้องไปสัมภาษณ์ที่อิมมิเกรชั่น ในทางตรงกันข้าม การขอวีซ่าจากประเทศไทย ผู้ยื่นต้องไปสัมภาษณ์ที่สถานฑูตค่ะ การยื่นขอเปลี่ยนสถานะในอเมริกา อาจจะเหมาะกับผู้ที่ไม้ได้ต้องการเดินทางเข้าออกอเมริกาบ่อยนัก โดยหลักแล้วอิมมิเกรชั่นจะให้สถานะกับผู้ยื่นขอเปลี่ยนสถานะเป็นเวลาสองปี ซึ่งต่อได้เรื่อยๆตราบที่ยังประกอบธุรกิจอยู่ ถ้าเดินทางออกจากอเมริกาในระหว่างสองปีนี้ ผู้ยื่นต้องไปทำเรื่องขอเปลี่ยนหน้าวีซ่าจากนักท่องเที่ยวหรือวีซ่าอื่นที่ ถืออยู่เป็นวีซ่านักลงทุนที่สถานฑูตอเมริกาที่ประเทศไทย ก่อนที่จะเดินทางกลับเข้ามาอเมริกาเพื่อบริหารธุรกิจต่อ แต่ถ้าไม่เดินทางออกเลยตลอดสองปี ก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนหน้าวีซ่าค่ะและต่ออายุที่อเมริกาได้เลยพอครบสองปี มีหลายๆท่านถามว่าการเปลี่ยนหน้าวีซ่านี้ยากมากมั้ย ตอบนะคะว่าไม่ยากหากมีเอกสารครบและธุรกิจยังดำเนินอยู่ตามปกติ สำหรับคนที่ยื่นขอวีซ่าจากที่ประเทศไทย โดยปกติสถานฑูตจะให้วีซ่าเป็นระยะเวลาหกเดือน หมายความว่าผู้ถือวีซ่าต้องเดินทางเข้ามาอเมริกาภายในหกเดือนนั้น เมื่อมาถึงอเมริกา CBP (Custom and Border Protection) จะประทับตราให้อยู่ได้สองปีหลังจากวันที่เดินทางเข้ามาค่ะ และถ้าต้องการเดินทางเข้าออกระหว่างหกเดือนนั้นก็สามารถทำได้ แต่ถ้าต้องการเดินทางหลังจากที่วีซ่าหมดอายุแล้ว ก็เดินทางได้เพียงแต่ต้องไปยื่นขอวีซ่าอีกครั้งก่อนเดินทางกลับเข้ามา อเมริกา Note สำหรับคนที่อยู่ในอเมริกาอยู่แล้วด้วยสถานะอื่น เช่นนักเรียน F1 หรือนักท่องเที่ยว B1/2 ก็สามารถยื่นขอเปลี่่ยนสถานะในอเมริกาได้เลย […]

Read More

การขอวีซ่า E2 จากประเทศไทย

การยื่นขอวีซ่านักลงทุนจากประเทศไทย ทำโดยยื่นใบสมัครที่สถานฑูตอเมริกาประจำประเทศไทย ขั้นตอนคร่าวๆคือ ยื่นใบสมัครออนไลน์ ส่งเอกสารไปที่สถานฑูตอเมริกา และไปสัมภาษณ์ โดยปกติแล้วผู้สัมภาษณ์จะใช้เวลาเพียง 30 นาทีในการสัมภาษณ์ วันที่ไปสัมภาษณ์ให้เตรียมตัวดังนี้ ศึกษาแผนทางธุรกิจ(Business Plan) ผู้สัมภาษณ์จะอ่านแผนทางธุรกิจเพื่อทำความเข้าใจธุรกิจและวัตถุประสงค์ของ ผู้ยื่นขอวีซ่า หลักๆคือผู้ยื่นต้องมีความเข้าใจวิธีการบริหารธุรกิจและวิธีการเพิ่มฐาน ลูกค้าตามที่ได้มีการชี้แจงในแผนนั้น ศึกษาฟอร์ม DS-160 ก่อนวันสัมภาษณ์ ผู้ยื่นขอวีซ่าควรจะอ่านและทำความเข้าใจทุกๆคำถาม และคำตอบ เช่นหากเคยยื่นเรื่องขอกรีนการ์ดอยู่ ก็ควรตอบให้ได้ว่ายื่นเมื่อไหร่ ใครเป็นผู้ยื่น คำตอบที่ปรากฎในฟอร์มและที่ตอบระหว่างการให้สัมภาษณ์ควรจะตรงกัน ศึกษาเอกสารแนบทั้งหมด ผู้ยื่นขอวีซ่าควรจะอ่านและจำลำดับของเอกสารคร่าวๆว่าอะไรอยู่ในส่วนไหน เช่น ถ้าผู้สัมภาษณ์ ถามถึงสัดส่วนการถือหุ้น คุณต้องจำได้ว่าตัวเองถือหุ้นกี่เปอร์เซนต์และชี้ไปที่เอกสารที่แสดงราย ละเอียดเช่น ใบผู้ถือหุ้นได้ การตอบคำถาม ควรตอบสั้นๆ ได้ใจความ และตอบอย่างตรงไปตรงมา เช่นถ้าเป็นคำถามประเภท yes / no ก็ตอบแค่ yes / no ถ้าหากผู้สัมภาษณ์ต้องการข้อมูลเพิ่ม เขาจะถามเราเอง ตั้งใจฟังคำถาม บางครั้งการที่เราตื่นเต้นมากๆก็อาจทำให้ลืมและไม่ได้ตั้งใจฟังคำถาม ถ้าตอบคำถามผิดประเด็นผู้สัมภาษณ์อาจจะคิดว่าเราต้องการปิดบังอะไรบางอย่าง ก็ได้ ถ้าก่อนที่จะถึงวันสัมภาษณ์มีเอกสารอะไรเพิ่มเติม ก็ให้นำไปด้วย เช่น สัญญา […]

Read More

ประเภทของการลงทุน EB5 AND E2

นักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการที่ต้องการเริ่มทำธุรกิจในอเมริกามีทางเลือกหลักๆอยู่สองทาง ทางแรกคือ การยื่นขอวีซ่า E-2 ซึ่งเป็นวีซ่าที่อนุญาตให้นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการอยู่ในอเมริกาเพื่อประกอบธุรกิจได้หากมีเงินลงทุนมากพอสมควร อีกทางเลือกหนึ่งคือ การยื่นขอวีซ่า EB-5 ซึ่งเป็นการขอย้ายถิ่นที่อยู่ถาวร ในกรณีที่ผู้ยื่นมีเงินลงทุนมากกว่า $500,000 ขึ้นไป ทั้งสองกรณี ผู้ลงทุนต้องสามารถพิสูจน์กับรัฐบาลได้ว่าเงินลงทุนมาจากแหล่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย และได้มาจากการทำงานที่ถูกต้อง จุดสำคัญคือต้องมีเอกสารเพื่อยืนยันด้วย เอกสารที่นำมาใช้ในการพิสูจน์ก็เช่น เอกสารเกี่ยวกับการเสียภาษี, Bank Statements, Financial Statements ในกรณีที่มีธุรกิจ, เอกสารการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท, ในกรณีที่ได้เงินมาจากการขายทรัพย์สินก็ต้องมีหลักฐานเช่นกัน ผู้ลงทุนควรให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ด้วย ในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะการยื่นขอวีซ่า E-B5 อิมมิเกรชั่นจะลงรายละเอียดและต้องการดูเอกสารมากกว่าที่ตัวบทกฎหมายเขียนไว้ ผู้ยื่นจึงควรเตรียมเอกสารให้พร้อมอย่างมากและดีที่สุด นักลงทุนไม่จำเป็นต้องพิสูจน์เงินทุกบาททุกสตางค์ที่มีในบัญชี เพียงแต่ต้องพิสูจน์แหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ในการลงทุนเท่านั้น สำหรับผู้ที่มาจากประเทศที่ไม่มีความจำเป็นต้องยื่นเสียภาษีรายได้ประจำปีหรือประเทศที่มีประวัติการคอรัปชั่นมาก อิมมิเกชั่นอาจจะขอดูเอกสารมากกว่านักลงทุนที่มาจากประเทศอื่น ดังนั้นกฎเกณฑ์ในการเตรียมเอกสารก็แตกต่างกันไปขึ้นกับว่าคุณมาจากประเทศอะไรด้วย มีความจำเป็นต้องพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน เช่นหากได้เงินมาจากการให้ แหล่งที่มาของรายได้ของผู้ให้ก็ต้องถูกต้องตามกฎหมายด้วย ถ้าหากได้เงินมาจากการกู้ยืม ก็ต้องมีหลักฐานเพื่อยืนยันแหล่งที่มาของรายได้ของผู้ให้กู้ด้วย นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องอธิบายแหล่งที่มาของรายได้อย่างละเอียดและทำสารบัญเพื่อให้เอกสารหาได้ง่าย อิมมิเกรชั่นมีเคสที่ต้องพิจารณามาก หากคุณเตรียมเคสไม่ดี เจ้าหน้าที่อาจจะปฏิเสธเคสคุณได้เพราะว่าเอกสารจัดเรียงไม่เป็นลำดับและทำให้เขาต้องเสียเวลาในการพิจารณาเคสคุณ ในเคสของ EB-5 ส่วนใหญ่และ E-2 บางเคส การเตรียมเอกสารเพื่อพิสูจน์แหล่งที่มาของเงินลงทุนเป็นส่วนที่ใช้เวลาในการเตรียมมากที่สุด และมักเป็นส่วนสำคัญที่อิมมิเกรชั่นใช้ในการตัดสินเคส

Read More