Tag: วีซ่านักลงทุน

ธุรกิจต้องดำเนินการไปถึงขั้นไหนถึงจะขอวีซ่านักลงทุนได้

วีซ่านักลงทุนเหมาะกับนักธุรกิจที่ต้องการเริ่มธุรกิจในอเมริกาโดยอาจจะเป็นการเข้าไปซื้อธุรกิจต่อจากเจ้าของเดิมหรือเริ่มต้นธุรกิจใหม่ก็ได้ จุดประสงค์ของวีซ่านี้คือให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในอเมริกาและสร้างงานให้กับเศรษฐกิจอเมริกา คำถามหนึงที่สำนักงานเราพบบ่อยๆคือ ธุรกิจต้องดำเนินการไปถึงขั้นตอนไหนถึงจะขอวีซ่าได้ มีหลายๆท่านถามเข้ามาว่าเสนอแผนทางธุรกิจอย่างเดียวว่าเรามีความตั้งใจจะทำธุรกิจนี้ได้หรือไม่ หรือต้องมีการลงมือทำไปแล้วถึงขั้นตอนไหน คำตอบ คือ ต้องมีการเริ่มดำเนินการไปแล้วจนใกล้ที่จะเปิดธุรกิจได้ (close to the start of operation) เช่น มีการเช่าพื้นที่แล้ว มีการซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นในการประกอบการ มีการจ้างพนักงานแล้วหรืออยู่ในระหว่างคัดเลือกคนงาน และเหลือเพียงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่ต้องทำหลังจากที่วีซ่านักลงทุนผ่าน ยกตัวอย่าง สิ่งที่ใช้ชี้วัดว่าธุรกิจได้เริ่มดำเนินการไปแล้วและพร้อมที่จะยื่นขอวีซ่านักลงทุน มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจแล้ว มีสัญญาเช่าทางธุรกิจ มีเวบไซต์ นามบัตร เมนู โบรชัวร์ มีใบอนุญาติประกอบธุรกิจ เลขที่เสียภาษี ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นพิจารณาจากสถานการณ์และเอกสารโดยรวมเพื่อตัดสินว่าธุรกิจพร้อมเปิดดำเนินการหรือเตรียมเปิดธุรกิจไปถึงขั้นไหนแล้ว หากท่านมีข้อสงสัย สามารถโทรเข้ามาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (631) 464-8471 or email info@globalvisanow.com

Read More

นักลงทุน E2 ทำอย่างไรให้ได้กรีนการ์ด

วีซ่าหรือสถานะนักลงทุน E2 ไม่ได้เป็นบันไดไปสู่กรีนการ์ดโดยตรง แต่ผู้ที่ถือวีซ่านี้หรือสถานะนี้มีหลายๆทางเลือกในการยื่นขอกรีนการ์ด เช่น ทางเลือกแรกคือ ยื่นขอวีซ่านักลงทุนประเภท EB5 ซึ่งผู้ยื่นต้องมีเงินลงทุนอย่างน้อย $500,000 โดยนำเงินไปลงทุนใน Regional Center (Government Approved Project) หรือลงทุน $1,000,000 ในธุรกิจของตนเอง ทางเลือกที่สองคือยื่นขอ H1B ประเภท self-employed entrepreneur และยื่นขอกรีนการ์ดโดยใช้ธุรกิจที่ตนเองเป็นเจ้าของอยู่ได้ ทางเลือกที่สามคือ ในกรณีที่สามีหรือภรรยาของผู้ถือวีซ่าหรือสถานะนักลงทุนทำงานและบริษัทที่ทำงานยื่นเรื่องขอกรีนการ์ดให้กับคู่สมรสของนักลงทุน นักลงทุนก็จะได้กรีนการ์ดด้วยเช่นกัน (Derivative) ทางเลือกที่สี่ คือยื่นขอกรีนการ์ดประเภท NIW (National Interest Waiver) โดยที่ไม่ต้องมีนายจ้าง ในกรณีที่ผู้ยื่นมีธุรกิจที่สำคัญต่อเศรษฐกิจอเมริกาเป็นอย่างมาก

Read More

วีซ่าพ่อค้าและวีซ่านักลงทุน

อาทิตย์นี้เราจะอธิบายเรื่องวีซ่าพ่อค้าและวีซ่านักลงทุน (E1/E2) วีซ่าพ่อค้า (E1) มีไว้สำหรับผู้ที่ต้องดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับการค้าขายสินค้าและหรือ บริการระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างการบริการระหว่างประเทศเช่น การธนาคาร การประกันภัย การท่องเที่ยว การติดต่อสื่อสาร และอื่นๆ โดยที่กิจกรรมมากกว่า 50% ต้องเป็นการค้าและหรือการบริการระหว่างบริษัทในอเมริกาและบริษัทในประเทศไทย ส่วนวีซ่านักลงทุน (E2) มีไว้สำหรับนักลงทุนที่ประสงค์ที่จะลงทุนในธุรกิจที่จัดตั้งในอเมริกา โดยที่การลงทุนดังกล่าวต้อง เป็นการลงทุนที่มากพอสมควร การลงทุนใดจัดว่ามากหรือน้อยให้พิจารณาจากประเภทของโครงการที่ลงทุน เช่นการลงทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีเงินลงทุนที่มากกว่าการลงทุนใน ร้านอาหาร และสัดส่วนของการลงทุนในโครงการที่เล็กเช่นร้านอาหารย่อมต้องมากกว่าการลง ทุนในโครงการใหญ่ วีซ่าประเภทนี้มีประโยชน์มากสำหรับผู้ประกอบการคนไทยหลายๆท่านที่ต้องการลง ทุนทำธุรกิจโดยเฉพาะการเปิดร้านอาหาร ผู้ที่ถือวีซ่าประเภทอื่นอยู่ (เช่น F,J, B, O, H, L) สามารถยื่นขอเปลี่ยนเป็นวีซ่านักลงทุนได้หากมีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมาย กำหนด กฎหมายไม่ได้กำหนดโควต้าไว้สำหรับการยื่นวีซ่านักลงทุนในแต่ละปี เพราะฉะนั้นท่านสามารถยื่นวีซ่าประเภทนี้เมื่อใดก็ได้ พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ที่ถือวีซ่าพ่อค้าหรือวีซ่านักลงทุนก็สามารถเดิน ทางเข้ามาในอเมริกาเพื่อทำงานให้กับพ่อค้าหรือนักลงทุน โดยให้พ่อค้าหรือนักลงทุนยื่นขอวีซ่าให้ได้ หากมีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมายกำหนด เช่น หากทำงานในตำแหน่งผู้จัดการหรือมีคุณสมบัติพิเศษที่เป็นประโยชน์กับบริษัทใน อเมริกา และคุณสมบัติดังกล่าวไม่สามารถฝึกฝนได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ นอกจากนี้ครอบครัว(ประกอบไปด้วยสามีภรรยาและบุตรที่อายุต่ำกว่า 21 ปี) ของผู้ที่ถือวีซ่าพ่อค้าหรือวีซ่านักลงทุนหรือพนักงานของบุคคลดังกล่าว ก็สามารถเดินทางเข้ามาพร้อมกันกับผู้ที่ถือวีซ่านี้ โดยที่บุตรสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลของอเมริกาได้จนกระทั่งเกรด 12 และสามารถเรียนในระดับมหาวิทยาลัยโดยชำระค่าเล่าเรียนในอัตราที่เท่ากับคน อเมริกันจนถึงอายุ […]

Read More

ยื่นขอวีซ่านักลงทุนจากไทยหรือขอเปลี่ยนสถานะเป็นนักลงทุนในอเมริกา แบบไหนง่ายกว่ากัน

คำถามจากผู้อ่าน ถ้าต้องการทำธุรกิจในอเมริกา ควรที่จะยื่นขอวีซ่านักลงทุนที่สถานฑูตอเมริกาที่ประเทศไทย (E2 VISA) หรือ เดินทางเข้ามาอเมริกาด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวหรือวีซ่าอื่น แล้วมายื่นขอเปลี่ยนสถานะในอเมริกา (CHANGE OF STATUS) ขั้นตอนแตกต่างกันอย่างไร และทำแบบไหนง่ายกว่า คำตอบ เอกสาร ค่าดำเนินการและระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก ส่วนที่แตกต่างกันหลักๆคือ การยื่นขอเปลี่ยนสถานะในอเมริกา ผู้ยื่นไม่ต้องไปสัมภาษณ์ที่อิมมิเกรชั่น ในทางตรงกันข้าม การขอวีซ่าจากประเทศไทย ผู้ยื่นต้องไปสัมภาษณ์ที่สถานฑูตค่ะ การยื่นขอเปลี่ยนสถานะในอเมริกา อาจจะเหมาะกับผู้ที่ไม้ได้ต้องการเดินทางเข้าออกอเมริกาบ่อยนัก โดยหลักแล้วอิมมิเกรชั่นจะให้สถานะกับผู้ยื่นขอเปลี่ยนสถานะเป็นเวลาสองปี ซึ่งต่อได้เรื่อยๆตราบที่ยังประกอบธุรกิจอยู่ ถ้าเดินทางออกจากอเมริกาในระหว่างสองปีนี้ ผู้ยื่นต้องไปทำเรื่องขอเปลี่ยนหน้าวีซ่าจากนักท่องเที่ยวหรือวีซ่าอื่นที่ ถืออยู่เป็นวีซ่านักลงทุนที่สถานฑูตอเมริกาที่ประเทศไทย ก่อนที่จะเดินทางกลับเข้ามาอเมริกาเพื่อบริหารธุรกิจต่อ แต่ถ้าไม่เดินทางออกเลยตลอดสองปี ก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนหน้าวีซ่าค่ะและต่ออายุที่อเมริกาได้เลยพอครบสองปี มีหลายๆท่านถามว่าการเปลี่ยนหน้าวีซ่านี้ยากมากมั้ย ตอบนะคะว่าไม่ยากหากมีเอกสารครบและธุรกิจยังดำเนินอยู่ตามปกติ สำหรับคนที่ยื่นขอวีซ่าจากที่ประเทศไทย โดยปกติสถานฑูตจะให้วีซ่าเป็นระยะเวลาหกเดือน หมายความว่าผู้ถือวีซ่าต้องเดินทางเข้ามาอเมริกาภายในหกเดือนนั้น เมื่อมาถึงอเมริกา CBP (Custom and Border Protection) จะประทับตราให้อยู่ได้สองปีหลังจากวันที่เดินทางเข้ามาค่ะ และถ้าต้องการเดินทางเข้าออกระหว่างหกเดือนนั้นก็สามารถทำได้ แต่ถ้าต้องการเดินทางหลังจากที่วีซ่าหมดอายุแล้ว ก็เดินทางได้เพียงแต่ต้องไปยื่นขอวีซ่าอีกครั้งก่อนเดินทางกลับเข้ามา อเมริกา Note สำหรับคนที่อยู่ในอเมริกาอยู่แล้วด้วยสถานะอื่น เช่นนักเรียน F1 หรือนักท่องเที่ยว B1/2 ก็สามารถยื่นขอเปลี่่ยนสถานะในอเมริกาได้เลย […]

Read More

ทำอย่างไรหากธุรกิจเปลี่ยนไปหลังจากได้วีซ่านักลงทุนแล้ว

วีซ่านักลงทุนเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใครที่ต้องการเริ่มธุรกิจในสหรัฐ โดยสามารถยื่นขอวีซ่าประเภทนี้ได้ถึงแม้จะมีเงินลงทุนไม่มาก (ประมาณ USD$40,000 ก็สามารถยื่นได้) หลังจากที่ยื่นเรื่องผ่านแล้ว รัฐบาลอนุญาตให้นักลงทุนทำงานเพื่อธุรกิจของตนเองเท่านั้น ตามที่ระบุในแบบฟอร์มตอนยื่นขอวีซ่าหรือตอนยื่นขอเปลี่ยนสถานะ คำถามที่ตามมาคือ หากดำเนินธุรกิจไปแล้วต้องการเปลี่ยนรูปแบบหรือโครงสร้างของธุรกิจ จะต้องทำอย่างไรในกรณีนี้ คำตอบคือ ขึ้นกับว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นการเปลี่ยนที่เล็กน้อยหรือเปลี่ยนมาก หากเป็นการเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น หากร้านอาหารของคุณต้องการเพิ่มบาร์ ทางเลือกหนึ่งคือยื่นขอใบอนุญาตจากสถานฑูตอเมริกาหรือ USCIS ในกรณีที่ยื่นขอเปลี่ยนสถานะในสหรัฐ โดยการแจ้งไปที่สถานฑูตหรือUSCIS  โดยมากสถานฑูตหรือ USCIS ก็จะเพียงแต่ขอให้ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไป เช่นส่งแบบแผนทางธุรกิจฉบับใหม่เข้าไป หากการเปลี่ยนแปลงเป็นการเปลี่ยนที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางธุรกิจ สถานฑูตหรือ USCIS ก็อาจจะขอให้คุณยื่นสมัครวีซ่าหรือฟอร์ม I-129 เข้าไปใหม่เลยก็ได้ จุดสำคัญที่ต้องเน้นคือ ก่อนจะยื่นเรื่องขอวีซ่านักลงทุน ผู้ลงทุนมองเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือการขยายกิจการในรูปแบบใดบ้าง หากมีความคิดที่จะเพิ่มหรือขยายกิจการ อาจจะรวมส่วนนี้เข้าไปในแผนธุรกิจแต่แรก จะได้ไม่ต้องไปยื่นขออนุญาตเพิ่มเติมทีหลัง

Read More