Category: E2 VISA Blog

ประเภทของการลงทุน EB5 AND E2

นักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการที่ต้องการเริ่มทำธุรกิจในอเมริกามีทางเลือกหลักๆอยู่สองทาง ทางแรกคือ การยื่นขอวีซ่า E-2 ซึ่งเป็นวีซ่าที่อนุญาตให้นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการอยู่ในอเมริกาเพื่อประกอบธุรกิจได้หากมีเงินลงทุนมากพอสมควร อีกทางเลือกหนึ่งคือ การยื่นขอวีซ่า EB-5 ซึ่งเป็นการขอย้ายถิ่นที่อยู่ถาวร ในกรณีที่ผู้ยื่นมีเงินลงทุนมากกว่า $500,000 ขึ้นไป ทั้งสองกรณี ผู้ลงทุนต้องสามารถพิสูจน์กับรัฐบาลได้ว่าเงินลงทุนมาจากแหล่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย และได้มาจากการทำงานที่ถูกต้อง จุดสำคัญคือต้องมีเอกสารเพื่อยืนยันด้วย เอกสารที่นำมาใช้ในการพิสูจน์ก็เช่น เอกสารเกี่ยวกับการเสียภาษี, Bank Statements, Financial Statements ในกรณีที่มีธุรกิจ, เอกสารการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท, ในกรณีที่ได้เงินมาจากการขายทรัพย์สินก็ต้องมีหลักฐานเช่นกัน ผู้ลงทุนควรให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ด้วย ในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะการยื่นขอวีซ่า E-B5 อิมมิเกรชั่นจะลงรายละเอียดและต้องการดูเอกสารมากกว่าที่ตัวบทกฎหมายเขียนไว้ ผู้ยื่นจึงควรเตรียมเอกสารให้พร้อมอย่างมากและดีที่สุด นักลงทุนไม่จำเป็นต้องพิสูจน์เงินทุกบาททุกสตางค์ที่มีในบัญชี เพียงแต่ต้องพิสูจน์แหล่งที่มาของเงินที่จะนำมาใช้ในการลงทุนเท่านั้น สำหรับผู้ที่มาจากประเทศที่ไม่มีความจำเป็นต้องยื่นเสียภาษีรายได้ประจำปีหรือประเทศที่มีประวัติการคอรัปชั่นมาก อิมมิเกชั่นอาจจะขอดูเอกสารมากกว่านักลงทุนที่มาจากประเทศอื่น ดังนั้นกฎเกณฑ์ในการเตรียมเอกสารก็แตกต่างกันไปขึ้นกับว่าคุณมาจากประเทศอะไรด้วย มีความจำเป็นต้องพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน เช่นหากได้เงินมาจากการให้ แหล่งที่มาของรายได้ของผู้ให้ก็ต้องถูกต้องตามกฎหมายด้วย ถ้าหากได้เงินมาจากการกู้ยืม ก็ต้องมีหลักฐานเพื่อยืนยันแหล่งที่มาของรายได้ของผู้ให้กู้ด้วย นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องอธิบายแหล่งที่มาของรายได้อย่างละเอียดและทำสารบัญเพื่อให้เอกสารหาได้ง่าย อิมมิเกรชั่นมีเคสที่ต้องพิจารณามาก หากคุณเตรียมเคสไม่ดี เจ้าหน้าที่อาจจะปฏิเสธเคสคุณได้เพราะว่าเอกสารจัดเรียงไม่เป็นลำดับและทำให้เขาต้องเสียเวลาในการพิจารณาเคสคุณ ในเคสของ EB-5 ส่วนใหญ่และ E-2 บางเคส การเตรียมเอกสารเพื่อพิสูจน์แหล่งที่มาของเงินลงทุนเป็นส่วนที่ใช้เวลาในการเตรียมมากที่สุด และมักเป็นส่วนสำคัญที่อิมมิเกรชั่นใช้ในการตัดสินเคส

Read More

คุณสมบัติของผู้ยื่นขอวีซ่านักลงทุน E2

คุณสมบัติของผู้มีความประสงค์จะขอวีซ่านักลงทุนประเภท E-2 นักธุรกิจทีมีความประสงค์จะขอวีซ่าประเภท E-2 จะต้องมีสัญชาติไทยหรือถือสัญชาติของประเทศที่เป็นคู่สนธิสัญญาทางการค้ากับ สหรัฐอเมริกา นักลงทุนต้องแสดงให้ทางสหรัฐฯได้เห็นว่าได้มีการลงทุนบางส่วนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งธุรกิจขึ้นใหม่ หรือ เข้าไปจัดซื้อธุรกิจที่มีอยู่แล้วก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดตัวเลขที่ตายตัวสำหรับการลงทุนขั้นต่ำ แต่เงินสดที่ใช้ในการลงทุนเริ่มต้นนั้นต้องไม่น้อยเกินไปเมื่อเทียบกับมูลค่าทางธุรกิจ การลงทุนนั้นต้องมีความเสี่ยง กล่าวคือ ไม่เลือกลงทุนเฉพาะแบบมีค้ำประกันเงินคืน เงินทุนนั้นอาจเป็นเงินทุนส่วนตัว หรือ กู้ยืมจากแหล่งเงินทุนอื่นๆ มีการติดต่อแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง โดยหลักการผู้ลงทุนหลักจะประจำอยู่ในสหรัฐฯเพื่อควบคุมและพัฒนาธุรกิจด้วยตน เอง การควบคุมนี้หมายถึงมีหุ้นส่วนในธุรกิจไม่น้อยกว่า 50% ในบางกรณี ให้แสดงรายงานประวัติการบริหารงาน ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในระหว่างการลงทุนในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นผลกำไร บัญชีการจ่ายเงินเดือน อัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจ เหล่านี้เป็นเครื่องบ่งชี้ประสิทธิภาพการบริหารงาน ประวัติการศึกษา ฝึกอบรม ประสบการณ์การทำงาน รวมถึงวิสัยทัศน์ของผู้ลงทุน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมในการบริหารงานให้ก้าวหน้าต่อไป

Read More

ทำอย่างไรหากธุรกิจเปลี่ยนไปหลังจากได้วีซ่านักลงทุนแล้ว

วีซ่านักลงทุนเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใครที่ต้องการเริ่มธุรกิจในสหรัฐ โดยสามารถยื่นขอวีซ่าประเภทนี้ได้ถึงแม้จะมีเงินลงทุนไม่มาก (ประมาณ USD$40,000 ก็สามารถยื่นได้) หลังจากที่ยื่นเรื่องผ่านแล้ว รัฐบาลอนุญาตให้นักลงทุนทำงานเพื่อธุรกิจของตนเองเท่านั้น ตามที่ระบุในแบบฟอร์มตอนยื่นขอวีซ่าหรือตอนยื่นขอเปลี่ยนสถานะ คำถามที่ตามมาคือ หากดำเนินธุรกิจไปแล้วต้องการเปลี่ยนรูปแบบหรือโครงสร้างของธุรกิจ จะต้องทำอย่างไรในกรณีนี้ คำตอบคือ ขึ้นกับว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นการเปลี่ยนที่เล็กน้อยหรือเปลี่ยนมาก หากเป็นการเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น หากร้านอาหารของคุณต้องการเพิ่มบาร์ ทางเลือกหนึ่งคือยื่นขอใบอนุญาตจากสถานฑูตอเมริกาหรือ USCIS ในกรณีที่ยื่นขอเปลี่ยนสถานะในสหรัฐ โดยการแจ้งไปที่สถานฑูตหรือUSCIS  โดยมากสถานฑูตหรือ USCIS ก็จะเพียงแต่ขอให้ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไป เช่นส่งแบบแผนทางธุรกิจฉบับใหม่เข้าไป หากการเปลี่ยนแปลงเป็นการเปลี่ยนที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางธุรกิจ สถานฑูตหรือ USCIS ก็อาจจะขอให้คุณยื่นสมัครวีซ่าหรือฟอร์ม I-129 เข้าไปใหม่เลยก็ได้ จุดสำคัญที่ต้องเน้นคือ ก่อนจะยื่นเรื่องขอวีซ่านักลงทุน ผู้ลงทุนมองเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือการขยายกิจการในรูปแบบใดบ้าง หากมีความคิดที่จะเพิ่มหรือขยายกิจการ อาจจะรวมส่วนนี้เข้าไปในแผนธุรกิจแต่แรก จะได้ไม่ต้องไปยื่นขออนุญาตเพิ่มเติมทีหลัง

Read More

ความรู้เบื้องต้น วีซ่าพ่อค้าและวีซ่านักลงทุน (E1/E2)

วีซ่าพ่อค้า (E1) มีไว้สำหรับผู้ที่ต้องดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับการค้าขายสินค้าและหรือบริการระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างการบริการระหว่างประเทศเช่น การธนาคาร การประกันภัย การท่องเที่ยว การติดต่อสื่อสาร และอื่นๆ โดยที่กิจกรรมมากกว่า 50% ต้องเป็นการค้าและหรือการบริการระหว่างบริษัทในอเมริกาและบริษัทในประเทศไทย ส่วนวีซ่านักลงทุน (E2) มีไว้สำหรับนักลงทุนที่ประสงค์ที่จะลงทุนในบริษัทที่จัดตั้งในอเมริกา โดยที่การลงทุนดังกล่าวต้องเป็นการลงทุนที่มากพอสมควร การลงทุนใดจัดว่ามากหรือน้อยให้พิจารณาจากประเภทของโครงการที่ลงทุน เช่นการลงทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีเงินลงทุนที่มากกว่าการลงทุนในร้านอาหาร และสัดส่วนของการลงทุนในโครงการที่เล็กเช่นร้านอาหารย่อมต้องมากกว่าการลงทุนในโครงการใหญ่ วีซ่าประเภทนี้มีประโยชน์มากสำหรับผู้ประกอบการคนไทยหลายๆท่านที่ต้องการลงทุนทำธุรกิจโดยเฉพาะการเปิดร้านอาหาร ผู้ที่ถือวีซ่าประเภทอื่นอยู่ (เช่น F,J, B, O, H, L) สามารถยื่นขอเปลี่ยนเป็นวีซ่านักลงทุนได้หากมีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมายกำหนด กฎหมายไม่ได้กำหนดโควต้าไว้สำหรับการยื่นวีซ่านักลงทุนในแต่ละปี เพราะฉะนั้นท่านสามารถยื่นวีซ่าประเภทนี้เมื่อใดก็ได้ พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ที่ถือวีซ่าพ่อค้าหรือวีซ่านักลงทุนก็สามารถเดินทางเข้ามาในอเมริกาเพื่อทำงานให้กับพ่อค้าหรือนักลงทุน โดยให้พ่อค้าหรือนักลงทุนยื่นขอวีซ่าให้ได้ หากมีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมายกำหนด เช่น หากทำงานในตำแหน่งผู้จัดการหรือมีคุณสมบัติพิเศษที่เป็นประโยชน์กับบริษัทในอเมริกา และคุณสมบัติดังกล่าวไม่สามารถฝึกฝนได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ นอกจากนี้ครอบครัว(ประกอบไปด้วยสามีภรรยาและบุตรที่อายุต่ำกว่า 21 ปี) ของผู้ที่ถือวีซ่าพ่อค้าหรือวีซ่านักลงทุนหรือพนักงานของบุคคลดังกล่าว ก็สามารถเดินทางเข้ามาพร้อมกันกับผู้ที่ถือวีซ่านี้ โดยที่บุตรสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลของอเมริกาได้จนกระทั่งเกรด 12 และสามารถเรียนในระดับมหาวิทยาลัยโดยชำระค่าเล่าเรียนในอัตราที่เท่ากับคนอเมริกันจนถึงอายุ 21 ปี ค่าเล่าเรียนในอัตรานี้น้อยกว่ามากหากเทียบกับอัตราที่ผู้ที่เข้ามาเรียนในฐานะคนต่างชาติต้องชำระ ผู้ประกอบธุรกิจหลายๆท่านเห็นว่าวีซ่าประเภทนี้เป็นประโยชน์กับธุรกิจของตน เพราะว่าสามารถให้พนักงานคนไทยไม่ว่าพนักงานคนนั้นจะอยู่ที่ประเทศไทยหรืออเมริกายื่นขอวีซ่าประเภทนี้และมาทำงานกับตนเองได้ โดยที่พนักงานไม่สามารถย้ายไปทำงานกับบริษัทอื่นได้ ถึงแม้ว่าขั้นตอนในการยื่นขอวีซ่าจะค่อนข้างซับซ้อนในเบื้องต้น แต่เมื่อผ่านพ้นไปแล้ว พ่อค้าหรือนักลงทุนก็สามารถจ้างพนักงานจากประเทศไทยหรือพนักงานคนไทยในอเมริกาได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดายและมีค่าใช้จ่ายไม่มาก หากท่านใดสนใจยื่นวีซ่าประเภทนี้หรือมีคำถามเพิ่มเติม […]

Read More