ห้าคำถามยอดฮิต ของวีซ่านักลงทุน

Q1: วีซ่านักลงทุน E2 เป็นบันไดไปสู่การยื่นขอกรีนการ์ดหรือไม่

ไม่ วีซ่านักลงทุนเป็นวีซ่าที่อนุญาตให้ผู้ถือเข้ามาทำงานในอเมริกาในธุรกิจที่ตนเองลงทุนเท่านั้นและไม่ได้เป็นบันไดไปสู่การได้กรีนการ์ดหรือใบเขียว โดยทั่วไปแล้วอิมมิเกรชั่นจะให้ผู้ถือวีซ่านักลงทุนอยู่ในอเมริกาได้ครั้งละสองปี โดยสามารถยื่นขอต่ออายุได้ครั้งละสองปี และต่ออายุสถานะนักลงทุนได้เรื่อยๆ ไม่จำกัดครั้งตราบใดที่ยังมีธุรกิจอยู่ในอเมริกา (ไม่จำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อไปต่ออายุ)
ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนสถานะเป็นกรีนการ์ด ควรปรึกษาทนายเพื่อพูดคุยถึงทางเลือกในการยื่นขอกรีนการ์ดด้วยวิธือื่นๆ เช่น การลงทุนแบบ EB-5 หรือการแต่งงานกับผู้ที่เป็นอเมริกาซิติเซ่นหรือถือกรีนการ์ด

Q2: ร้านมีความจำเป็นที่จะต้องจ้างพนักงานที่เป็นคนอเมริกันหรือคนที่ถือกรีนการ์ดหรือไม่ เจ้าของร้านถึงจะขอวีซ่านักลงทุนผ่าน

กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าธุรกิจจำเป็นจะต้องจ้างคนที่ถือสัญชาติอเมริกันหรือถือใบเขียว แต่ตามความเป็นจริงแล้วการจะเปิดธุรกิจได้ก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีพนักงานเพื่อช่วยงานต่างๆ เช่น รับลูกค้า ปรุงอาหารในกรณีเป็นร้านอาหาร หากจะให้แค่คนในครอบครัวช่วยกันทำงานในร้าน โอกาสที่วีซ่าจะผ่านก็จะเป็นไปได้ยาก เพราะว่าอิมมิเกรชั่นจะตีความการที่คุณไม่ได้จ้างพนักงานว่าธุรกิจคุณเป็นธุรกิจในครอบครัวที่ไม่ได้ส่งผลประโยชน์ต่อการจ้างงานหรือเศรษฐกิจอเมริกา

Q3: สามารถกู้เงิน (กู้ธนาคารและกู้บุคคล) เพื่อนำมาใช้ในการลงทุนและขอวีซ่านักลงทุนได้หรือไม่

ได้ ทั้งนี้ต้องมีเอกสารประกอบเพื่อให้อิมมิเกรชั่นเห็นแหล่งที่มาของเงินกู้อย่างชัดเจนค่ะ

Q4: จำเป็นต้องเป็นธุรกิจร้านอาหารหรือไม่ ถึงจะขอวีซ่านักลงทุนผ่าน

ไม่จำเป็น จะลงทุนในธุรกิจประเภทไหนก็ได้ตราบใดที่เป็นธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายและคุณมีใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ โดยต้องเป็นธุรกิจที่มีหน้าร้านชัดเจน เช่น ร้านอาหาร ร้านนวด ร้านทำผม ร้านสปา บริษัท shipping บริษัทที่ปรึกษาต่างๆ โดยคุณสามารถเข้าไปซื้อหุ้นร้านที่มีอยู่แล้ว (ต้องถือหุ้นอย่างน้อย 50%) หรือจะทำร้านขึ้นเองเลยก็ได้ (start-up)
ทั้งนี้ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในหุ้นหรือกองทุน ไม่ถือว่าเป็นการลงทุนประเภทที่จะไปขอวีซ่านักลงทุนได้

Q5: ควรมีเงินลงทุนเท่าไหร่ถึงจะขอวีซ่านักลงทุนผ่าน

สำนักงานเราแนะนำให้มีเงินลงทุนอย่างน้อย $40,000 ทั้งนี้ผู้ลงทุนมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุนนี้ไปแล้วเท่าไหร่ก็ขึ้นกับประเภทธุรกิจ และแผนทางธุรกิจ (Business Plan) ที่จะยื่นต่ออิมมิเกรชั่น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *