Category: E2 VISA Blog

รีวิวเรื่องการสัมภาษณ์วีซ่านักลงทุน E-2 Investor ที่ประเทศไทย

E2 investor visa interview มีคนสนใจและถามเข้ามาเยอะพอสมควร วันนี้เลยจะมารีวิวเรื่องการสัมภาษณ์วีซ่านักลงทุนที่ประเทศไทย คำถามหลักๆที่กงสุลมักจะถามในการขอวีซ่านักลงทุน E2 Investor มีประมาณนี้นะคะ ประวัติส่วนตัวของนักลงทุนและประวัติการเดินทางเข้าออกอเมริกา เช่น ปัจจุบันหรือก่อนหน้านี้ทำงานอะไร เคยไปอเมริกาหรือไม่ ถ้าเคย คราวที่แล้วเข้าไปทำอะไรบ้างในอเมริกา คนที่เคยเดินทางเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว B2 ต้องระวังเรื่องนี้เป็นอย่างมากเนื่องจากตอนที่คุณเข้ามาด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว หากคุณแจ้งกับตมว่าจุดประสงค์ในการเดินทางเข้ามาคือเพื่อมาท่องเที่ยวเท่านั้นแต่คุณเข้ามาดำเนินการอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวภายใน 90 วันหลังจากเดินทางเข้ามา กงสุลอาจจะเห็นว่าคุณใช้วีซ่าท่องเที่ยวผิดประเภทและอาจทำให้กงสุลปฎิเสธวีซ่านักลงทุนรวมถึงอาจจะยกเลิกวีซ่าท่องเที่ยวไปด้วย ดังนั้น หากคุณต้องการเข้ามาเพื่อดูธุรกิจ คุณควรจะแจ้งตมตั้งแต่ตอนเดินทางเข้ามาเลยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต ทั้งนี้คนที่จะขอวีซ่านักลงทุนไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์หรือเคยทำธุรกิจด้านที่ยื่นขอวีซ่า เช่น หากคุณลงทุนทำร้านอาหารไทยในอเมริกา คุณไม่จำเป็นที่จะต้องมีประวัติการทำธุรกิจร้านอาหารที่ประเทศไทย แต่ต้องมีเหตุผลว่าทำไมถึงสนใจมาลงทุนทำธุรกิจร้านอาหาร ทำไมถึงสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจดังกล่าวในอเมริกา เช่น ถ้าเป็นการซื้อหุ้นร้านอาหาร ทำไมถึงสนใจเข้ามาซื้อหุ้นร้านอาหารนี้ ถ้าเป็นการเซ้งกิจการต่อจากผู้อื่น ทำไมถึงสนใจซื้อธุรกิจดังกล่าว รู้จักกับคนขายธุรกิจได้อย่างไร ในกรณีที่เป็นการเซ้งกิจการหรือการซื้อหุ้นในกิจการที่มีอยู่แล้ว หน้าที่ของคุณจะทำอะไรบ้างหากได้รับวีซ่านักลงทุน เช่น คุณจะเข้ามาบริหารธุรกิจอย่างไร และทำอะไรให้กับธุรกิจบ้าง ทำงานกี่วัน ทำงานร่วมกับใครบ้าง รายละเอียดทั่วๆไปของธุรกิจในอเมริกา เช่น ที่ตั้งของธุรกิจ บริเวณที่ธุรกิจตั้งอยู่มีอะไรบ้าง รายละเอียดเรื่องพนักงาน ควรจำชื่อพนักงานในบริษัทและตำแหน่งของแต่ละคนให้ได้ สินค้าหรือบริการของธุรกิจคืออะไร กลุ่มลูกค้าและรายได้ รายจ่าย กำไรแต่ละวันเป็นอย่างไร […]

Read More

การซื้อกิจการหรือเซ้งกิจการต่อจากเจ้าของเดิม

สำหรับท่านที่สนใจจะย้ายมาอยู่อเมริกาและทำธุรกิจ การซื้อกิจการหรือเซ้งกิจการต่อจากเจ้าของเดิมก็เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง เนื่องจากท่านสามารถตรวจสอบประวัติเรื่องรายได้ของธุรกิจจากคนขายได้เลยและไม่ต้องใช้เวลานานในการหาทำเล ซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นและตกแต่งร้านเหมือนในเคส start-up และท่านสามารถหาธุรกิจหลายๆประเภทที่ท่านสนใจเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกก่อนที่จะตัดสินใจซื้อกิจการ ปัจจัยที่ท่านควรจะพิจารณาก่อนจะตัดสินใจซื้อกิจการ ที่สามารถไปยื่นขอวีซ่านักลงทุน E2 มีดังนี้ 1. ธุรกิจดังกล่าวมีการจ้างพนักงานหรือไม่ และธุรกิจดังกล่าวมีโอกาสจะเติบโตและจ้างพนักงานมากขึ้นในอนาคตหรือไม่ สิ่งสำคัญที่สถานฑูตหรืออิมมิเกรชั่นพิจารณาก่อนที่จะอนุมัติวีซ่าหรือสถานะนักลงทุนให้ คือดูว่าธุรกิจมีการจ้างพนักงานกี่ท่าน และธุรกิจนี้มีโอกาสที่จะสร้างงานให้กับคนอเมริกันมากน้อยแค่ไหน หากธุรกิจที่ท่านสนใจจะซื้อไม่มีการจ้างพนักงานเต็มเวลาเลย โอกาสที่จะได้วีซ่าก็จะลดลง เนื่องจากสถานฑูตหรืออิมมิเกรชั่นจะมองว่าธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจขนาดเล็กจนเกินไปและไม่ได้สร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจอเมริกามากเท่าที่ควร ยกตัวอย่างเช่น หากท่านสนใจจะซื้อธุรกิจขนาดเล็กที่เปิดมานานแล้วกว่าสิบปี แต่ไม่มีประวัติการจ้างพนักงานเลยตลอดระยะเวลาสิบปี เคสนี้จะมีโอกาสในการได้วีซ่าลดน้อยลง ยกเว้นมีการเสนอแผนทางธุรกิจที่ชัดเจนต่อสถานฑูตหรืออิมมิเกรชั่นว่าจะมีการจ้างพนักงานทันทีที่วีซ่าอนุมัติ 2. ธุรกิจดังกล่าวมีกำไรมากน้อยแค่ไหน หลายๆท่านอาจจะสนใจซื้อธุรกิจที่คนขายตั้งราคาไว้ไม่สูงมาก เพราะเล็งเห็นว่าสามารถปรับปรุงสถานที่ และทำแผนการตลาดใหม่เพื่อดึงดูดลูกค้าได้ ทั้งนี้ก่อนจะตัดสินใจซื้อควรจะดูเอกสารทางการเงินและเอกสารภาษีของคนขายก่อนเพื่อดูว่าธุรกิจดังกล่าวมีโอกาสเติบโตขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่ท่านจะได้สามารถวางแผนและเสนอแผนทางธุรกิจที่มีผลกำไรต่อสถานฑูตหรืออิมมิเกรชั่นได้ เอกสารเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดว่าคุณสามารถบริหารธุรกิจดังกล่าวให้มีผลกำไรได้หลังจากการเซ้งกิจการแล้ว 3. การซื้อขายธุรกิจต้องเสร็จสิ้นแล้วท่านถึงจะไปขอวีซ่านักลงทุนได้ ท่านผู้อ่านหลายๆท่านจึงสงสัยว่าถ้าหากจ่ายเงินซื้อธุรกิจไปแล้วสุดท้ายหากวีซ่าไม่ผ่านจะทำอย่างไร วิธีหนึ่งที่คู่สัญญาบางคู่ใช้คือ การใช้บริการ Escrow account ซึ่งเป็นการนำเงินลงทุน (เงินที่จะใช้ซื้อกิจการ) โอนเข้าไปในบัญชีของบริษัท Escrow โดยกำหนดเงื่อนไขใน Escrow Agreement ให้ release เงินดังกล่าวไปยังผู้ขายก็ต่อเมื่อวีซ่านักลงทุนผ่านแล้ว ทันทีที่วีซ่าผ่าน บริษัท Escrow ก็จะโอนเงินไปยังบัญชีผู้ขาย ถ้าหากวีซ่าไม่ผ่าน เงินก็จะถูกโอนกลับไปยังบัญชีนักลงทุน […]

Read More

ธุรกิจร้านอาหารไทยในอเมริกา

สรุปเรื่องที่ควรจะทราบก่อนที่จะเข้ามาทำธุรกิจร้านอาหารไทยในอเมริกา เพื่อเป็นข้อมูลให้กับนักธุรกิจและนักลงทุนที่สนใจจะทำธุรกิจร้านอาหารในอเมริกา 1. รูปแบบการลงทุน การเปิดร้านอาหารมีรูปแบบการลงทุนหลักๆประมาณสามแบบ 1) เข้าไปซื้อหุ้นจากหุ้นส่วนเดิม (share purchase) ของธุรกิจที่มีอยู่แล้ว หรือ 2) เซ้งร้าน (take-over) หรือ 3) ทำร้านขึ้นใหม่ (start-up) ถ้าหากคุณต้องการขอวีซ่านักลงทุน E2 คุณต้องมีเงินลงทุนประมาณ $40,000 และต้องถือหุ้นอย่างต่ำ 50% 2. พ่อครัวแม่ครัว สิ่งต่อมาที่ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาก็คือ เรื่องเชฟหรือพ่อครัวแม่ครัวที่จะเข้ามาทำงานในร้าน การหาเชฟคนไทยที่มีประสบการณ์ทำงานและมีคุณสมบัติอื่นๆ เช่นความอดทน ซื่อสัตย์ และขยันเป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องวางแผนให้ดีเนื่องจากการหาเชฟในอเมริกาไม่ได้ง่ายนัก และถึงจะหาได้แล้วการจะให้คนนั้นทำงานให้กับร้านคุณนานๆก็ไม่ง่ายเช่นกันเพราะว่าการจ้างงานเชฟไทยในอเมริกามีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ร้านอาหารไทยมีมากกว่าจำนวนเชฟ เพราะฉะนั้นเชฟไทยที่มีประสบการณ์ทำงานก็สามารถต่อรองค่าแรงและหางานทำได้ไม่ยากนัก ทางออกหนึ่งที่หลายๆร้านเลือกทำ คือการยื่นใบทำงานให้กับเชฟจากประเทศไทยมาทำงานที่ร้านอาหารตนเองโดยตรง (E2 essential employee visa) เพราะว่าเชฟต้องทำงานให้กับร้านอาหารที่ยื่นสปอนเซอร์ตนเองมาเท่านั้น ทันทีที่เชฟย้ายไปทำงานร้านอื่นโดยยังไม่ได้รับอนุญาตจากอิมมิเกรชั่น (คือยังไม่มีการยื่นเรื่องขอเปลี่ยนร้าน) สถานะทางอิมมิเกรชั่นของเชฟจะขาดทันที 3. การจัดตั้งธุรกิจ จดชื่อทางการค้า ขอเลขที่เสียภาษี มีการจดทะเบียนธุรกิจหลายประเภทเช่น LLC / Corporation แต่ละรูปแบบเสียภาษีแตกต่างกันไป เมื่อคุณจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเรียบร้อยแล้วสามารถไปยื่นขอจดชื่อทางการค้าของร้าน […]

Read More

การยื่นขอวีซ่า E2 Chef ให้พ่อครัว แม่ครัว

สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนยื่นขอวีซ่าหรือขอเปลี่ยนสถานะประเภทนี้ 1. คุณสมบัติของผู้สมัคร หลักๆเลยผู้สมัครควรจะต้องมีประสบการณ์ทำงานครัวไทยและมีหนังสือรับรองการทำงานเพื่อพิสูจน์ว่าเคยทำงานจริง โดยประสบการณ์ดังกล่าวจะเป็นประสบการณ์ทำงานจากประเทศไทยเท่านั้นหรือจะเป็นประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศด้วยก็ได้ ถ้าหากไม่มีประสบการณ์ทำงานด้านนี้เลยแต่ว่าเรียนจบมาทางด้านการทำอาหารก็มีโอกาสขอวีซ่าผ่าน ทั้งนี้ต้องให้ทนายช่วยรีวิว Resume ของผู้สมัครเพื่อประเมินโอกาสในการได้วีซ่า ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วมาก แต่ควรจะพูดทักทายพอได้เพราะจำเป็นต้องสื่อสารได้บ้างเวลาไปสัมภาษณ์วีซ่าในกรณีขอวีซ่าจากประเทศไทย ถ้าหากยื่นขอเปลี่ยนสถานะในอเมริกา เวลายื่นเรื่องเป็นการยื่นเอกสารเข้าไปที่อิมมิเกรชั่นเท่านั้นและไม่มีสัมภาษณ์ 2. ระยะเวลาในการเตรียมวีซ่าและรอผล แบ่งการยื่นออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือยื่นขอวีซ่าจากประเทศไทยที่สถานฑูตอเมริกาที่กรุงเทพ ใช้เวลารวมแล้วประมาณหนึ่งเดือนครึ่งสำหรับเคสที่เอกสารพร้อม โดยสามารถยื่นเรื่องได้ทันทีที่วีซ่าของนักลงทุน E2 investor ผ่าน กลุ่มที่ 2 คือ สำหรับคนที่ต้องการยื่นขอเปลี่ยนสถานะในอเมริกา (สำหรับคนที่เข้ามาเป็นนักเรียน นักท่องเที่ยว หรือเข้ามาด้วยสถานะอื่นๆและต้องการเปลี่ยนสถานะเป็น E2 chef ในอเมริกา) ทั้งนี้การเปลี่ยนสถานะในอเมริกามีการยื่นสองประเภท คือยื่นเรื่องแบบด่วน (premium processing) จะทราบผลภายใน 15 วันทำการหลังจากยื่นเรื่องและยื่นเรื่องแบบธรรมดา (regular processing) ทราบผลหลังยื่นเรื่องประมาณ 3-6 เดือน 3. สัญญาจ้างงาน และระยะเวลาการทำงานกับนายจ้าง ในสัญญาจ้างงานจะมีการระบุรายได้ต่อชั่วโมงที่เชฟจะได้รับจากการทำงาน โดยค่าแรงต่อชั่วโมงต้องไม่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำในรัฐที่ร้านอาหารตั้งอยู่ สามารถเข้าเช็คได้ที่เวบนี้ https://www.dol.gov/whd/minwage/america.htm และสิทธิประโยชน์อื่นๆที่นายจ้างตกลงให้ […]

Read More

อยากพาครอบครัวย้ายไปอยู่อเมริกาและทำธุรกิจ ควรเริ่มตรงไหน ขอวีซ่าอะไร

เริ่มตรงไหนดี ? วิธีที่ 1 เป็นวิธีที่คนส่วนมากนิยมทำคือเดินทางเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว B1/B2 และมาดูย่านธุรกิจที่สนใจ โดยก่อนที่จะเดินทางเข้ามาควรหาข้อมูลเรื่อง ราคาของกิจการที่สนใจที่จะเซ้ง หรือ ค่าเช่ารายเดือนของห้องที่สนใจจะขอเช่าเพื่อทำธุรกิจ โดยอาจจะหาไว้หลายๆทางเลือกเพื่อเปรียบเทียบเรื่องราคาและ location ลูกค้าบางท่านใช้บริการของ broker/realtor เพื่อที่จะได้มีคนช่วยประสานงานกับคนขายหรือคนให้เช่าแทนตนเองก็จะทำให้การหาสถานที่ง่ายขึ้น เมื่อเดินทางเข้ามาแล้วก็มาสำรวจและตัดสินใจว่าต้องการที่จะเซ้งกิจการไหนหรือขอเช่าห้องไหนเพื่อทำธุรกิจ ในกรณีที่จะมาเช่าห้องเพื่อทำธุรกิจ start-up อาจจะต้องหาข้อมูลและติดต่อขอ quote ราคาจากผู้รับเหมาที่จะจ้างมาทำร้านหรือตกแต่งร้านด้วย ท่านที่เข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวสามารถที่จะเลือกยื่นขอเปลี่ยนสถานะจากนักท่องเที่ยวเป็นนักลงทุนในอเมริกาได้เลย หรือจะกลับไปยื่นเรื่องขอวีซ่านักลงทุนที่ประเทศไทยก็ได้ วิธีที่ 2 สำหรับท่านที่ไม่สะดวกเดินทางเข้ามาอเมริกาเพื่อมาสำรวจกิจการด้วยตนเอง หรือ ท่านที่ขอวีซ่าท่องเที่ยวแล้วไม่ผ่านแต่อยากจะซื้อธุรกิจในอเมริกาและขอวีซ่านักลงทุน E2 จากประเทศไทยเลย ทางเลือกที่ทำได้ก็คือ หาหุ้นส่วนที่อเมริกาเพื่อให้หุ้นส่วนช่วยสำรวจ หาร้าน และประสานงานเรื่องการซื้อขายร้าน การเช่าร้าน การขอใบอนุญาต โดยที่ผู้ยื่นขอวีซ่านักลงทุนไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาอเมริกาเลยจนกระทั่งวีซ่านักลงทุนผ่าน หรือ หาธุรกิจที่เจ้าของร้านยินดีขายหุ้นอย่างน้อย 50% ให้ โดยสำนักงานเราสามารถช่วยประสานงานตั้งแต่การทำสัญญาซื้อขายหุ้น การโอนเงินข้ามประเทศ รวบรวมเอกสารต่างๆเพื่อขอวีซ่า วิธีนี้หลายๆท่านนิยมใช้เพราะว่าเดินเรื่องได้เร็วกว่าการเซ้งร้านหรือการทำ start-up และนักลงทุนก็ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาอเมริกาเลยจนกระทั่งวีซ่านักลงทุนผ่าน ไม่ว่าจะเลือกวิธีไหน ควรเริ่มติดต่อทนายด้านอิมมิเกรชั่นเพื่อขอคำปรึกษาเรื่องการวางมัดจำที่ถูกต้อง การโอนเงินลงทุน การทำสัญญาต่างๆไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายหุ้น สัญญาซื้อขายร้านหรือสัญญาเช่าทันทีที่ได้ร้านหรือธุรกิจที่สนใจจะซื้อหุ้น เซ้งหรือเช่า เพื่อที่จะได้คำแนะนำที่ถูกต้องตั้งแต่ต้นและไปขอวีซ่านักลงทุนได้ […]

Read More

เทรนด์การอนุมัติวีซ่านักลงทุน E2 ในยุครัฐบาลทรัมป์

เทรนด์การอนุมัติวีซ่านักลงทุน E2 ในยุครัฐบาลทรัมป์ มีคำถามจากผู้อ่านเข้ามาค่อนข้างมากเรื่องความเปลี่ยนแปลงต่างๆ และแนวโน้มการอนุมัติการยื่นขอวีซ่านักลงทุน E2 ตั้งแต่ทรัมป์เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ขออนุญาตตอบตามประเภทของวีซ่าดังนี้ 1.วีซ่านักลงทุน (E2 Investor) แนวโน้มการอนุมัติเรื่องยังสูงตามปกติหากเอกสารที่เตรียมครบถ้วนและผู้ยื่นมีคุณสมบัติตรงตามกับเงื่อนไขการขอวีซ่า โดยที่สำนักงานเราแนะนำให้มีเงินลงทุนอย่างน้อย $40,000 ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจขึ้นใหม่, เซ้งธุรกิจต่อจากเจ้าของเดิมหรือซื้อหุ้นในธุรกิจที่มีอยู่แล้ว ท่านที่สนใจยื่นขอวีซ่าประเภทนี้ควรได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องตั้งแต่เรื่องแหล่งที่มาของเงินลงทุน การทำสัญญาซื้อขายและการโอนเงินลงทุนที่ถูกต้อง 2. วีซ่าพนักงาน (E2 essential employee) สำหรับตำแหน่งพ่อครัวแม่ครัวในธุรกิจร้านอาหาร หรือตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะในธุรกิจอื่นๆ รัฐบาลนี้ค่อนข้างเน้นเรื่องประสบการณ์ทำงานของผู้ที่ยื่นขอวีซ่า โดยต้องดูว่าตำแหน่งที่จะเข้ามาทำงานและประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้สมัครมีความคล้ายคลึงกันมากน้อยแค่ไหน และความจำเป็นในการจ้างงานแรงงานจากประเทศไทยของนายจ้าง อีกทั้งขนาดของธุรกิจที่จ้างงานก็มีผลต่อการอนุมัติวีซ่าเช่นกัน หากเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีฐานลูกค้ามากและมีรายได้ต่อปีสูงย่อมมีความจำเป็นในการจ้างแรงงานที่มีทักษะเฉพาะหลายตำแหน่งจากประเทศไทย ส่วนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง จะยื่นขอวีซ่าให้พนักงานมาได้ตามความจำเป็นและขนาดของธุรกิจ หากท่านต้องการให้สำนักงานประเมินคุณสมบัติของผู้ที่จะยื่นขอวีซ่าพนักงานเพื่อดูความเป็นไปได้ของการยื่นเรื่อง สามารถโทรเข้ามาติดต่อได้ที่เบอร์ +16314648471 หรือแอดไลน์ line id globalvisanow วีซ่าทั้งสองประเภทนี้ยังไม่มีแนวโน้มจะถูกยกเลิก เนื่องจากมีมายาวนานมากกว่า 100 ปีและเป็นวีซ่าที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจอเมริกา เพราะส่งเสริมให้มีการนำเงินเข้ามาลงทุนในอเมริกา และให้มีการจ้างงานคนอเมริกันเพิ่มขึ้นอีกด้วย

Read More

ยื่นเรื่องวีซ่านักลงทุนและวีซ่าพนักงานนักลงทุนเข้าไปพร้อมกันทีเดียวได้หรือไม่

คำถาม นักลงทุนที่สนใจจะซื้อธุรกิจหรือเข้าหุ้นในธุรกิจในอเมริกาและต้องการนำพนักงานมาทำงานด้วยจากประเทศไทย สามารถจะยื่นขอวีซ่านักลงทุน (E2 investor) และวีซ่าพนักงาน (E2 essential employee)เข้าไปพร้อมกันเลยได้หรือไม่ เพื่อที่จะได้ให้พนักงานมาเริ่มงานได้เร็วและเรื่องผ่านไปพร้อมๆกัน คำตอบ มีวิธียื่นหลายๆวิธี บางท่านเลือกที่จะรอให้วีซ่าของนักลงทุนผ่านก่อนแล้วค่อยยื่นเรื่องของพนักงานตามเข้าไป เพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องของคนหลักหรือนักลงทุนผ่านแน่นอน เพราะว่าสถานฑูตจะพิจารณาเรื่องของพนักงานก็ต่อเมื่อเคสของนักลงทุนผ่านแล้วเท่านั้น ถ้าเลือกวิธีนี้จะมี gap ระหว่างเคสนักลงทุนและเคสพนักงานอยู่ที่ประมาณ 1.5-2  เดือนถ้าเริ่มเรื่องของพนักงานทันทีที่เรื่องคนหลักผ่าน อย่างไรก็ดี บางท่านเลือกที่ยื่นทั้งสองเรื่องเข้าไปในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันถ้าเคสนักลงทุนดูแล้วโอกาสผ่านสูงและมีความจำเป็นต้องให้พนักงานมาทำงานอย่างเร็วที่สุด สรุป คือ พิจารณาตามความเหมาะสมและขึ้นกับการวางแผนเรื่องระยะเวลาและความจำเป็นที่จะต้องนำคนงานมา ทั้งนี้ทางสำนักงานจะช่วยประเมินความเป็นไปได้ของเคสนักลงทุนก่อนว่ามีโอกาสผ่านกี่เปอร์เซ็นต์เพื่อให้นักลงทุนใช้ข้อมูลตรงนี้ตัดสินใจว่าจะทำเรื่องพนักงานไปพร้อมๆกันเลยหรือไม่ โดยที่ธุรกิจหนึ่งจะนำพนักงานเข้ามาจากประเทศไทยได้กี่คนนั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็นและขนาดของธุรกิจ

Read More

การโอนเงินระหว่างประเทศที่ถูกต้องเพื่อนำไปยื่นขอวีซ่าหรือสถานะนักลงทุน E2

หลายๆท่านสอบถามมาเรื่องการโอนเงินจากประเทศไทยเข้ามาประเทศอเมริกาอย่างถูกต้องว่าควรทำอย่างไรถึงจะไปขอวีซ่าหรือสถานะนักลงทุนแล้วไม่มีปัญหาทีหลัง ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่าการโอนเงินที่ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่อิมมิเกรชั่นหรือสถานฑูตพิจารณาก่อนจะตัดสินว่าจะให้หรือไม่ให้สถานะหรือวีซ่านักลงทุน เพราะฉะนั้นการโอนเงินด้วยวิธีถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆที่ทุกท่านควรให้ความสำคัญ หลักการโอนเงินที่ถูกต้องคือ การโอนระหว่างประเทศจากธนาคารที่ประเทศไทยมาเข้าบัญชีที่อเมริกาโดยตรง อย่างไรก็ดี จะต้องโอนจากบัญชีใครมาเข้าบัญชีใคร และแบ่งโอนอย่างไรนั้นแต่ละเคสก็จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นกับว่าเอาแหล่งเงินทุนมาจากไหน มีหลายๆท่านใช้วิธีอื่นๆในการนำเงินมาลงทุนในประเทศอเมริกาเช่น ขอยืมเงินสดของคนในอเมริกาเพื่อลงทุน หรือถือเงินสดจากประเทศไทยเข้ามาวางมัดจำหรือซื้อธุรกิจ หรือใช้เงินสดซื้อของที่ประเทศไทยและส่งของเข้ามาในอเมริกา วิธีการเหล่านี้จะทำให้การตรวจสอบแหล่งที่มาของเงินเป็นไปได้ยากและจะทำให้เคสโดนตรวจสอบมากเวลายื่นขอสถานะหรือวีซ่านักลงทุน ดังนั้น หากเป็นไปได้ เงินลงทุนจึงไม่ควรใช้เป็นเงินสด ทั้งนี้ก่อนจะโอนเงินลงทุนเข้ามาจากประเทศไทยต้องมีการตรวจสอบแหล่งที่มาของเงินก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเคสจะมีโอกาสผ่านสูง เคสที่มีโอกาสผ่านสูงคือเงินลงทุนต้องมาจากแหล่งที่มาที่มีเอกสารพิสูจน์ได้ชัดเจนและได้มาอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมสถาบันทางการเงิน กู้ยืมบุคคล เงินเก็บสะสมจากการทำงานหรือการทำธุรกิจ หรือการขายทรัพย์สินก็ตาม

Read More

การต่ออายุสถานะนักลงทุน E2 และสถานะพนักงาน E2 employee

วีซ่านักลงทุนคือวีซ่าที่อนุญาตให้นักลงทุนสัญชาติไทยเดินทางเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศอเมริกาได้ หลังจากที่เดินทางเข้ามาด้วยวีซ่านักลงทุนแล้ว ตมจะประทับตราให้นักลงทุนอยู่ในอเมริกาด้วยสถานะนักลงทุนได้เป็นระยะเวลา 2 ปี พอใกล้ครบกำหนด 2 ปีแล้ว ท่านที่ต้องการอยู่ประกอบธุรกิจต่อสามารถยื่นเรื่องขอต่ออายุสถานะนักลงทุนในอเมริกาได้เลย หรือจะเดินทางออกจากอเมริกาเพื่อไปขอวีซ่านักลงทุนที่ประเทศไทยก็ได้เมื่อใกล้ครบกำหนดสองปีและเดินทางเข้ามาด้วยวีซ่านักลงทุน 1. คำถาม ควรเริ่มทำเรื่องต่ออายุประมาณกี่เดือนก่อนที่สถานะจะหมด คำตอบ อย่างช้าที่สุดควรเริ่มก่อนสถานะเดิมหมดประมาณ 2 เดือน หลายๆท่านเตรียมวางแผนเรื่องการต่ออายุไว้เลยทันทีที่ได้วีซ่าหรือสถานะนักลงทุนมาครั้งแรกเนื่องจากต้องมีการวางแผนเรื่องการจ้างงาน รายได้ของธุรกิจที่เหมาะสม และเอกสารที่จำเป็นต้องรวบรวมไว้ตลอดระยะเวลา 2 ปีก่อนสถานะจะหมด 2. คำถาม เอกสารที่ควรมีในการต่ออายุสถานะหรือทำวีซ่านักลงทุนพอครบกำหนดสองปี คำตอบ อิมมิเกรชั่นและสถานฑูตมักจะพิจารณาจากหลายๆปัจจัยว่าจะให้ต่ออายุหรือไม่ เช่นเรื่องยอดขายของธุรกิจ รายได้ของนักลงทุน การจ้างงานคนอเมริกันและหรือคนถือใบเขียว ในกรณีที่ผู้ขอต่ออายุเป็นลูกจ้าง E2 employee ของนักลงทุน สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ความต่อเนื่องของการทำงานและความจำเป็นของตำแหน่งที่ยื่นขอต่ออายุ 3. คำถาม ทางเลือกในการต่ออายุ ควรทำเรื่องที่อเมริกาหรือเดินทางกลับไปขอวีซ่าที่ประเทศไทย คำตอบ จะทำเรื่องต่ออายุในอเมริกาหรือขอวีซ่าที่ประเทศไทยก็ได้ หากเลือกที่จะทำเรื่องขอวีซ่าที่ประเทศไทย ข้อดีคือคุณจะได้เดินทางเข้าออกเป็นระยะเวลา 6 เดือนโดยไม่ต้องไปขอวีซ่าใหม่ภายในระยะเวลา 6 เดือนนั้น และเมื่อเดินทางเข้ามาแต่ละครั้ง ตมจะให้อยู่ในอเมริกา 2 ปีนับจากวันที่เดินทางเข้ามา ส่วนท่านที่ไม่มีแพลนที่จะเดินทางสามารถทำเรื่องต่ออายุในอเมริกาได้เลย หากเรื่องขอต่ออายุอนุมัติแล้วจะได้อยู่ต่ออีกเป็นระยะเวลา 2 […]

Read More

การจ้างพ่อครัวแม่ครัวมาจากประเทศไทย เริ่มต้นอย่างไรและขอวีซ่าอะไรดี

คำถาม การจ้างพ่อครัวแม่ครัวมาจากประเทศไทย เริ่มต้นอย่างไรและขอวีซ่าอะไรดี คำตอบ วิํธีที่เร็วที่สุดและค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดคือ การขอวีซ่า E2 Employee ให้กับพ่อครัวหรือแม่ครัว โดยที่ร้านอาหารคุณต้องมีหุ้นส่วนหรือเจ้าของร้านที่ถือวีซ่าหรือสถานะนักลงทุน E2 Investor จีงจะทำเรื่องจ้างพนักงานจากประเทศไทยเข้ามาด้วยวิธีนี้ได้ วีซ่า E2 Employee เป็นที่นิยมมาก เนื่องจาก 1. ไม่จำกัดจำนวนพนักงานที่จะเข้ามา ทั้งนี้การพิจารณาเรื่องจำนวนที่เหมาะสมก็ขึ้นกับขนาดของร้าน 2. พนักงานจะได้สถานะครั้งละ 2 ปี ต่ออายุสถานะในอเมริกาได้เรื่อยๆ ไม่ต้องเดินทางกลับไปขอวีซ่าที่ไทยพอครบ 2 ปี 3. ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการยื่นขอวีซ่าทำงานประเภทอื่นและไม่มีโควต้ารายปี 4. ระยะเวลาในการเตรียมเรื่องและรอผลจากประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 1 เดือนครึ่ง แต่หากลูกจ้างอยู่ในอเมริกาด้วยสถานะอื่นๆเช่นนักท่องเที่ยว หรือนักเรียน สามารถยื่นเรื่องขอเปลี่ยนสถานะแบบด่วน (premium processing) ได้ เตรียมเรื่องประมาณ 1 อาทิตย์และรอผลเพียง 15 วันเท่านั้นค่ะ 5. เงืื่อนไขในวีซ่าคือพนักงานต้องทำงานให้กับร้านที่ยื่นขอวีซ่าให้เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ที่จะยื่นขอวีซ่าประเภทนี้ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งที่ยื่นด้วยนะคะ

Read More